หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบ ร้อยกรอง THA2106 (TH 256)

 

 
                                                         แนวข้อสอบ ร้อยกรอง TH 256

1. ข้อสอบปรนัย 60 ข้อ
2. ข้อสอบอัตนัย 2 ข้อ
2.1 เลือกแต่งร้อยกรอง โคลงสี่สุภาพ , กลอนสุภาพ หรือ กาพย์ยานี 11 ( จำนวน 5 บท )
2.2 วิจารณ์ร้อยกรอง

ข้อสอบปรนัย 60 ข้อ ( จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด )

1. การศึกษาร้อยกรองมีประโยชน์อย่างไรเด่นชัดที่สุด
    1. เกิดความรู้ 2. เกิดความรื่นรมย์ 3. เกิดความกระตือรือร้น 4. เกิดจินตนาการกว้างไกล

2. คุณสมบัตรของผู้ผ่านการศึกษากระบวนวิชาร้อยกรองแล้วคืออะไร
   1. แต่งร้อยกรองได้ 2. วิจารณ์ร้อยกรองเป็น
   3. รู้เรื่องร้อยกรองอย่างกว้างขวาง 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

3. การจัดให้มีการศึกษาวิชาร้อยกรอง ควรนับว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้านใดของมหาวิทยาลัย
   1. การบริการสังคม 2. การท่ายทอดความรู้
   3. การแสวงหาความรู้ 4.การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

4. ข้อใดที่นับว่าเป็นร้อยกรองตามนัยของกระบวนวิชานี้
   1. ลำนำ 2. กลอนเพลง 3. เพลงพื้นบ้าน 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

5. “ถ้ารู้ว่าเขาไม่ฉลาดก็อย่าอ่านร้อยกรองให้เขาฟัง” คำกล่าวนี้แสดงว่าการศึกษาร้อยกรองต้องใช้สิ่งใด
   1. อารมณ์ 2. จินตนาการ 3. สติปัญญา 4. ความรู้พื้นฐาน

6. ตามนัยของกระบวนวิชานี้ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จัดเป็นวรรณคดีประเภทใด
  1. ร้อยแก้ว 2. ร้อยกรอง 3. ร้อยกรองผสมร้อยแก้ว 4. ร้อยแก้วที่มีลีลาของร้อยกรอง

7. ผู้ศึกษาร้อยกรองไม่สามารถสร้างสิ่งใดขึ้นมาได้
  1. ความรู้ 2. ความคิด 3. พรสวรรค์ 4. จินตนาการ

8. หนังสือพิมพ์ฉบับใดที่ลงพิมพ์คอลัมภ์ร้อยกรองทุกวันอาทิตย์
  1. ไทยรัฐ 2. มติชน 3. เดลินิวส์ 4. สยามรัฐ

9. ที่ น.ม.ส. ทรงกล่าวว่า “สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์” นั้นแสดงถึงคุณค่าของร้อยกรองที่มีต่อผู้ใดและด้านใด
   1. ผู้อ่าน – ความรื่นรมย์ 2. ผู้เขียน – ความยิ่งใหญ่
   3. ผู้อ่าน – ความเป็นใหญ่ 4. ผู้เขียน – ความปราดเปรื่อง

10. คำกล่าวที่ว่า “ร้อยกรองระบายออกจากหัวใจสู่หัวใจ” นั้น แสดงว่าร้อยกรองเน้นสิ่งใด
    1. อารมณ์ 2. สติปัญญา 3. จินตนาการ 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

11. ร้อยกรองใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าร้อยแก้วอย่างไร
    1. อ่านง่าย 2. ชัดเจน 3. สร้างอารมณ์ 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

12. วรรณกรรมคำหลวงเรื่องแรกของไทยคือเรื่องอะไร
   1. พระนลคำหลวง 2. พระมาลัยคำหลวง 3. มหาชาติคำหลวง 4. นันโทปนันทสูตร

13. วรรณกรรมเรื่องใดที่แต่งเป็นกลอนเสภา
   1. โคบุตร 2. ลักษณวงศ์ 3. ขุนช้างขุนแผน 4. สิงหไกรภพ

14. กวีท่านใดที่นำกาพย์มาแต่งรวมกับโคลงเป็นครั้งแรก
   1. สุนทรภู่ 2. พระศรีมโหสถ 3. เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ 4. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

15. วรรณกรรมเรื่องใดที่ได้รับรางวัลซีไรท์เป็นเล่มแรก
   1. ปณิธานกวี 2. ฉันจึงมาหาความหมาย 3. เพียงความเคลื่อนไหว 4. นาฏกรรมบนลานกว้าง

16. นอกจาก “ปณิธานกวี” แล้ว เรื่องใดคือร้อยกรองที่แต่งโดยผู้แต่งคนเดียวกัน
   1. เพลงมนุษย์ 2. ชักม้าชมเมือง 3. ขอบฟ้าขลิบทอง 4. ลำนำภูกระดึง

17. ผู้ใดมีผลงานร้อยกรองปรากฏบ่อยที่สุดในปัจจุบัน
   1. อังคาร กัลป์ยาณพงศ์ 2. คมทวน คันธนู
   3. วิทยากร เชียงกูล 4. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

18. ร้อยกรองบทใดที่นับว่าไม่มีคุณค่า
   1. บทที่ขาดความไพเราะ 2. บทที่มีเนื้อหาอยู่ในวงแคบ
   3. บทที่ยังไม่ได้แสดงออก 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

19. วรรณกรรมเรื่องใดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นที่แต่งเป็นลิลิต
   1. ยวนพ่าย 2. เพชรมงกุฎ 3. นิทราชาคริต 4. นารายณ์สิบปาง

20. กาพย์มหาชาติเป็นวรรณกรรมที่แต่งด้วยร้อยกรองประเภทใด
   1. ร่าย 2. กาพย์ 3. กลอน 4. โคลง

21. เหตุใดจึงไม่นับกวีนิพนธ์ของ จ่าง แซ่ตั้ง ว่าเป็นร้อยกรอง
   1. ขาดคำนำและสัมผัส 2. ขาดสัมผัสและคณะ
   3. ขาดคณะและเสียงวรรณยุกต์ 4. ขาดเสียงวรรณยุกต์และคำครุลหุ

22. ร้อยกรองต่อไปนี้ข้อใดเรียงลำดับการเกิดก่อนหลังได้อย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น
    1. ลำนำ กลอน โคลง 2. กลอน ร่าย ลำนำ
    3. โคลง ฉันท์ กาพย์ 4.กลอน กาพย์ ลำนำ

23. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระนิพนธ์พุทธศาสนสุภาษิตด้วยร้อยกรองประเภทใด
   1. กลอนสุภาพ 2. กาพย์ยานี 3.โคลงสี่ดั้น 4. โคลงสี่สุภาพ

24. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเล่นสักวากลอนสดที่จังหวัดสมุทรสงคราม เรื่องที่นำมาเล่นคือเรื่องอะไร
    1. ไกรทอง 2. สังข์ทอง 3. เงาะป่า 4. อิเหนา

25. นิตยสารฉบับใดที่มีคอลัมภ์ร้อยกรองเป็นประจำ
    1. สกุลไทย 2. สตรีสาร 3. มติชนสุดสัปดาห์ 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

26. คำที่สัมผัสกันแบบสัมผัสสระ นอกจากจะต้องใช้สระเดียวกันแล้ว ยังต้องมีลักษณะอย่างใดอีก
    1. พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน 2. วรรณยุกต์เสียงเดียวกัน
    3. ตัวสะกดมาตราเดียวกัน 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

27. การบังคับคำท้ายวรรคของกลอนนั้น เป็นการบังคับสิ่งใด
    1. เสียงเน้น 2. เครื่องหมาย 3. รูปวรรณยุกต์ 4. เสียงวรรณยุกต์

28. การบังคับคำเอกคำโท หมายถึงการบังคับสิ่งใด
   1. เสียงเน้น 2. เครื่องหมาย 3. รูปวรรณยุกต์ 4. เสียงวรรณยุกต์

29. ร้อยกรองประเภทใดที่บังคับคำเอกคำโท
    1. ร่าย 2. โคลงดั้น 3. โคลงสุภาพ 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

30. คำว่า “ลำนำ” นับเป็นคำอะไร
    1. คำครุ 2. คำลหุ 3. คำครุที่ใช้เป็นลหุได้ 4. คำลหุที่ใช้เป็นครุได้

31. การกำหนดให้ใช้คำว่า “มาจะกล่าวบทไป” ถือเป็นการบังคับสิ่งใด
    1. พยางค์ 2. คำนำ 3. คำสร้อย 4. คำเอกคำโท

32. ร้อยกรองชนิดใดที่มีการบังคับคำเอกคำโทเหมือนโคลงสองสุภาพ
    1. โคลงสองดั้น 2. โคลงสามดั้น 3. โคลงสี่สุภาพ 4. โคลงสี่ดั้น

33. โคลงต่อไปนี้เป็นโคลงชนิดใด

เพื่อนกินสิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี
หาง่ายหลายหมื่นมี มากได้
เพื่อนตายถ่ายแทนชี วาอาตม์
หายากฝากผีไข้ ยากแท้จักหา

1. โคลงสี่สุภาพ 2. โคลงกระทู้ 3. โคลงตรีพิธพรรณ 4. โคลงจัตวาทัณที

34. โคลงต่อไปนี้เป็นโคลงชนิดใด

สงสารทารกน้อย คอยหา
จำพรากจากกันมา วิโยค
สงสารลูกกำพร้า พรากพ่อ
ซ้ำแม่ห่างคงโศก ศัลย์หา

1. โคลงสินธุมาลี 2. โคลงนันทายี 3. โคลงวิชชุมาลี 4. โคลงจิตรลดา

35. ลักษณะสัมผัสนอกของโคลงสี่ดั้นเป็นอย่างไร

1. โคลงวิวิธมาลี 4 คู่ โคลงบาทกุญชร 5 คู่
2. โคลงวิวิธมาลี 5 คู่ โคลงบาทกุญชร 6 คู่
3. โคลงบาทกุญชร 5 คู่ โคลงวิวิธมาลี 6 คู่
4. โคลงบาทกุญชร 4 คู่ โคลงวิวิธมาลี 6 คู่

36. โคลงมหาจิตรลดา เป็นโคลงที่ไม่บังคับสิ่งใด
    1. สัมผัสนอก 2. คำเอกคำโท 3. จำนวนคำในบาท 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

37. ร้อยกรองประเภทใดที่มีลักษณะร่วมกับร้อยกรองอื่นๆ แต่มีข้อบังคับน้อยกว่
   1. โคลง 2. กลอน 3. กาพย์ 4. ร่าย

38. ร้อยกรองชนิดใดมีจำนวนคำในบทมากที่สุด
    1. กาพย์ยานี 2. กาพย์ฉบัง 3. กาพย์สุรางคนางค์ 4. กาพย์กากคติ

39. ฉันท์ชนิดใดมีจำนวนคำในบทน้อยที่สุด
    1. อีทิสังฉันท์ 2. อุปชาติฉันท์ 3. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 4. วิชชุมมาลาฉันท์

40. ต่อไปนี้เป็นฉันท์ชนิดใด “ศิวะแปลงวรรูป วิยหญิงยุวดี พระอุมาพระก็มี สุมนัสนิยม”
    1. โตฏกฉันท์ 2. อุปชาติฉันท์ 3. อินทรวิเชียรฉันท์ 4. ภุชงค์ประยาตฉันท์

41. เลขที่ 15 ที่ต่อท้ายมาลินีคำฉันท์ บอกจำนวนคำของอะไร
    1. วรรค 2. บาท 3. บท 4. ครุลหุ

42. ต่อไปนี้เป็นฉันท์ชนิดใด “ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย”
    1. ลัทธรา 2. วสันตดิลก 3. วิชชุมาลี 4. สัททุลวิกกีพิต

43. กาพย์ยานีมีลักษณะบังคับคล้ายร้อยกรองชนิดใดมากที่สุด
    1. กลอนหก 2. ร่ายสุภาพ 3. โคลงสามสุภาพ 4. อินทรวิเชียรฉันท์

44. กาพย์ชนิดใดที่แต่งโดยตั้งโคลง 1 บท แล้วต่อด้วยกาพย์อีกหลายบท
    1. กาพย์ขับไม้ 2. กาพย์ห่อโคลง 3. กาพย์เห่เรือ 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

45. กลอนชนิดใดที่ต้องขึ้นต้นด้วยวรรครับและจบด้วยคำว่า “เอย”
     1. กลอนสักวา 2. กลอนนิราศ 3. กลอนกลบท 4. กลอนเพลง

46. กลอนชนิดใดที่นิยมให้มีจำนวนคำในวรรคน้อยที่สุด
     1. กลอนเสภา 2. กลอนนิราศ 3. กลอนกลบท 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

47. ร่ายสุภาพกับร่ายดั้นมีลักษณะบังคับอย่างใดที่แตกต่างกัน
     1. สัมผัส 2. โคลงตอนจบ 3. จำนวนคำในวรรค 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

48. ร่ายชนิดใดที่ไม่จำกัดจำนวนคำในวรรค
     1. ร่ายดั้น 2. ร่ายยาว 3. ร่ายสุภาพ 4. ร่ายโบราณ

49. ร้อยกรองประเภทใดที่กำหนดลักษณะโดยมิได้มุ่งให้เป็นไปเพื่อความไพเราะ
    1. กลบท 2. กาพย์ฉบัง 3. กลอนเสภา 4. โคลงโบราณ

50. ร้อยกรองต่างจากร้อยแก้วในเรื่องใด
     1. จังหวะ 2. การใช้คำ 3. การเรียงคำ 4. ทุกข้อที่กล่าวมา

51. แนวโน้มของร้อยกรองในอนาคตน่าจะเป็นอย่างไร
    1. สั้นและง่าย 2. กินใจไพเราะ 3. ฉันทลักษณ์แน่นอน 4. ไม่บังคับฉันทลักษณ์

52. ร้อยกรองที่แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน เป็นร้อยกรองลักษณะใด
    1. ลำนำ 2. กลอนเปล่า 3. กลอนเพลง 4. กลอนบทละคร

53. ครูเทพแต่งร้อยกรองประเภทใดไว้มากที่สุด
    1. โคลง 2. ฉันท์ 3. กาพย์ 4. กลอน

54. ข้อใดคือลักษณะที่มักปรากฏในบทร้อยกรองของครูเทพ
     1. มีดรรชนี 2. มีเชิงอรรถ 3. บอกในเนื้อเรื่อง 4. บอกหลังจากแต่งจบ

55. ครูเทพบอกเวลาที่แต่งร้อยกรองแต่ละชนิดด้วยวิธีใด
    1. ทำเชิงอรรถ 2. ทำดรรชนี 3. บอกในเนื้อเรื่อง 4. บอกหลังจากจบ

56. ครูเทพเขียนร้อยกรองโดยเน้นสิ่งใดชัดเจนที่สุด
    1. เนื้อหา 2. อารมณ์ 3. รูปแบบ 4. ศิลปะการแต่ง

57. ครูเทพมักตั้งชื่อร้อยกรองอย่างไร
    1. คล้องจอง 2. สั้นและตรงเนื้อหา 3. สั้นยาวสลับกัน 4. ใช้วรรคสุดท้ายเป็นชื่อ

58.ขนาดร้อยกรองของครูเทพเมื่อเทียบกับร้อยกรองปัจจุบันแล้วเป็นอย่างไร
    1. สั้นกว่ามาก 2. ยาวกว่ามาก 3. สั้นกว่าเล็กน้อย 4. ยาวกว่าเล็กน้อย

59. ลักษณะร้อยกรองของครูเทพเป็นอย่างไรถูกต้องที่สุด
    1. เป็นแบบเก่า 2. เป็นแบบใหม่ 3. รูปแบบเก่าเนื้อหาใหม่ 4. ผสมกันระหว่างใหม่กับเก่า

60. ข้อใดคือลักษณะกลอนของครูเทพ
      1. ถึงไม่ข้ามสมุทรประดุจว่า การศึกษาอบรมก็แรงนัก
      2. นักเรียนเผารถรางขว้างตำรวจ อาวุธขวดคมมีดดีหนักหนา
      3. อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี แต่เด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้
      4. ทุกข้อที่กล่าวมา

                                                                                          ขอบคุณเวปไซต์ เพื่อนมนุษย์ศาสตร์รามฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น