หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบ จิตวิทยาการศึกษา PSY3204 (PC315)






แนวข้อสอบ จิตวิทยาการศึกษา  PSY3204 (PC315)

1. การศึกษาเพื่อหาเหตุและผล คือ การทดลอง
2.
การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร2 ตัว คือ การหาค่าสหสัมพันธ์
3.
การศึกษาจากสาภพการจริงตามธรรมชาติ คือ การวิจัยลักษณะพรรณนา
4.
ค่าสหสัมพันธ์-.89 หมายถึง มีความสัมพันธ์สูงในทิศทางตรงข้าม
5.
กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ได้รับผลจากวิธีการ
6.
อะไรช่วยให้เราเป็นครูที่ดี คือ การมีความรู้ในเนื้อหาวิชา มีความรอบรู้ในทักษะการสอน
7.
การเป็นครูที่ดีฝึกได้หรือไม่ ตอบ ฝึกได้แน่นอน
8.
จิตวิทยาการศึกษาจะสัมพันธ์กับ คือ การทำความเข้าใจกระบวนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ พยายามแสวงหาวิถีทางในการพัฒนากระบวนการเหล่านี้
9.
งานสำคัญของจิตวิทยาการศึกษา คือ การวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐานและการรวบรวมผล
10. Descriptive Research
คือ งานวิจัยในลักษณะพรรณนา
11. ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรม คือ งานวิจัยลักษณะพรรณนา
12.
การสัมภาษณ์ครู คือ งานวิจัยลักษณะพรรณนา
13. Correlational Studies
คือ การหาค่าสหสัมพันธ์
14.
ถ้าค่าสหสัมพันธ์เป็นบวก คือ ของสองสิ่งสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน
15.
ถ้าค่าสหสัมพันธ์เป็นลบ คือ ของสองสิ่งสัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม
16. Experimental Studies
คือ การทดลอง
17.
การศึกษาถึงเหตุและผล คือ การทดลอง
18.
กลุ่มต่าง ๆ ที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบ คือ กลุ่มตัวอย่าง
19.
ทฤษฎี ถือว่าเป็นศาสตร์
20. ขั้นตอนแรกในการวางแผนการสอน คือ การพิจารณาลักษณะของผู้เรียน
 
 
21. entering behavior คือ พฤติกรรมเมื่อเริ่มเข้าเรียน
22.
ผู้คิดพัฒนาการทางจิตสังคม คือ Erik Erikson (อีริคสัน)
23.
อีริคสันแบ่งพัฒนาการทางจิตสังคม กี่ขั้น 8 ขั้น
24.
ขั้นTrust VS Mistrust คือ ความไว้วางใจ/ไม่ไว้วางใจ
25.
ความไว้วางใจ อยู่ในช่วงอายุ คือ แรกเกิด – 1 ปี
26.
การให้ความคงที่ สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ให้ความรัก ความอบอุ่น อยู่ในขั้น Trust VS Mistrust
27. Autonomy VS Shame and Doubt
คือ ความเป็นอิสระแก่ตน/ความละอายและสงสัย
28.
พ่อแม่ต้องยินยอม และกระตุ้นให้ลูกทำในสิ่งที่เขาทำได้ อยู่ในขั้น Autonomy VS Shame and Doubt
29. Autonomy VS Shame and Doubt
อยู่ในช่วงอายุ คือ 2-3 ปี
30. Initiative VS Guilt
คือ ความคิดริเริ่ม/ความรู้สึกผิด
31. Initiative VS Guilt
อยู่ในช่วงอายุ คือ 4-5 ปี
32.
เริ่มใช้ภาษา มีการวางแผนการทำงาน อยู่ในขั้น คือ Initiative VS Guilt
33. Industry VS Inferiority
คือ ความขยันหมั่นเพียร/ความรู้สึกด้อย
34. Industry VS Inferiority
อยู่ในช่วงอายุ คือ 6-11 ปี
35.
ขั้นที่ทำตนให้เป็นที่ยอมรับโดยแสดงผลงานออกมา คือ ขั้น Industry VS Inferiority
36. Identity VS Role Diffusion
คือ ขั้นการเข้าใจตนเอง ตระหนักถึงเอกลักษณ์ของตน/ความสับสนในบทบาท
37. Identity VS Role Diffusion
อยู่ในช่วงอายุ คือ 12-18 ปี
38.
ขั้นใดที่เริ่มสงสัยในเอกลักษณ์ทางเพศและทางอาชีพ คือ Identity VS Role Diffusion
39.
ขั้นใดคือขั้นวัยรุ่น คือ Identity VS Role Diffusion
40. Generativity VS Stagnation
คือ ขั้นการให้กำเนิดเลี้ยงดู/หมกหมุ่นกับตัวเอง
41.
ขั้นใดเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุ 41-60 ปี คือ Generativity VS Stagnation
42.
วัยใดที่เริ่มจะสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้รุ่นลูก คือ Generativity VS Stagnation
43. Intergrity VS Despair
คือ ขั้นบูรณาภาพ/สิ้นหวังทอดอาลัย
44.
วัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คือ ขั้น Intergrity VS Despair
45.
วัยที่เข้าใจชีวิตและยอมรับ คือ ขั้น Intergrity VS Despair
46.
สรุปทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสัน แบ่งได้กี่ระยะ คือ 4 ระดับ
47.
ประกอบด้วย1) วัยก่อนเข้าเรียนและอนุบาล 2) อนุบาล3) ประถม 4) มัธยม
48.
ผู้คิดพัฒนาการด้านความคิด ความเข้าคือ เพียเจท์
49. Cognitive Development
คือ พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจ
50.
เพียเจท์วางหลักการไว้ คือ มนุษย์เราได้รับการถ่ายทอดพื้นฐานทางกรรมพันธุ์ 2 อย่าง
51.
ถ่ายทอดพื้นฐานทางกรรมพันธุ์2 อย่าง ประกอบด้วย การจัดระเบียบรวบรวมกระบวนการต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ (Organization) และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม(Adaptation)
52.
ภาวะสมดุลคือEquilibrium
53.
ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ เกิดจาก 2 กระบวนการ คือ การดูดซับ และการปรับโครงสร้างความคิด
54. Assimilation
คือ การดูดซับ
55. Accommodation
คือ การปรับโครงสร้างความคิด
56. Schema
คือ แบบแผนพฤติกรรม
57. เพียเจท์สรุปขั้นของพัฒนาการไว้4 ขั้น คือ
1)
ระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
2)
ระยะก่อนปฏิบัติการทางความคิดความเข้าใจ
3)
ระยะปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
4)
ระยะปฏิบัติการที่เป็นนามธรรม
58. Sensorimotor Stage คือ ระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
59. Preoperational Stage
คือ ระยะก่อนปฏิบัติการทางความคิดความเข้าใจ
60. Concrete Operational Stage
คือ ระยะปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม
61. Formal Operational Stage
คือ ระยะปฏิบัติการทางความคิดความเข้าใจเชิงนามธรรม
62.
ระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว คือ ระยะที่เรียนรู้ผ่านทางสัมผัส เลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่น
63. Preoperational Stage
คือ ระยะที่เริ่มใช้สัญลักษณ์
64.
สิ่งที่ขัดขวางความคิดที่เป็นเหตุผล ประกอบด้วย
1)
การยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง
2)
การที่ไม่สามารถคิดย้อนกลับไปได้
3)
การรับรู้ได้ครั้งละอย่างเดียว
65. egocentric คือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
66. irreversibility
คือ ไม่สามารถคิดย้อนกลับไปได้
67. perceptual centration
คือ การรับรู้ได้ครั้งละอย่างเดียว หรือ มิติเดียว
68.
พัฒนาการทางศีลธรรมของโคลเบอร์แบ่งเป็นกี่ระยะ คือ 6 ระยะ
69.
แบ่งเป็นกี่ระดับ3 ระดับ
70. พัฒนาการทางศีลธรรมของโคลเบอร์ก6 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 การเชื่อฟังเพราะกลัวถูกลงโทษ
ระยะที่ 2 สัมพันธ์ความสิ่งของ
ระยะที่ 3 อยากเป็นเด็กดี
ระยะที่ 4 กฎหมายและระเบียบ
ระยะที่ 5 สัญญาทางสังคม
ระยะที่ 6 หลักการทางศีลธรรมซึ่งเป็นสากล
71. PUNISHMENT AND OBEDIENCE คือ การเชื่อฟังเพราะกลัวถูกลงโทษ
72. INSTRUMENTAL RELATIVISIT
คือ สัมพันธ์กับสิ่งของ
73. CONCORDANCE OF“GOOD BOY, NICE GIRL”
คือ อยากเป็นเด็กดี
74. LAW AND ORDER
คือ กฎหมายและระเบียบ
75. SOCIAL CONTRACT
คือ สัญญาทางสังคม
76. UNIVERSAL ETHICAL PRINCIPLE
คือ หลักการทางศีลธรรมซึ่งเป็นสากล
77.
ผลการกระทำที่ตัดสินถึงความดีไม่ดี คือ PUNISHMENT AND OBEDIENCE
78.
เขาไม่ควรขโมยของจากร้าน คือ ระยะ INSTRUMENTAL RELATIVISIT
79.
ทำให้พ่อแม่ภูมิใจ คือ ระยะ CONCORDANCE OF “GOOD BOY, NICE GIRL
80.
ทำตามและรักษากฎหมาย คือ ระยะ LAW AND ORDER
81.
บางเหตุการณ์ก็เลิกคำนึงถึงกฎหมายเพื่อรักษาชีวิต คือ ระยะ SOCIAL CONTRACT
82.
ชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจให้เหมาะสมที่สุดภายใต้สถานการณ์บางอย่าง คือ ระยะ UNIVERSAL ETHICAL PRINCIPLE
83. โคลเบอร์กแบ่งพัฒนาการทางศีลธรรมเป็น3 ระดับ ประกอบด้วย
ระดับที่ 1 ก่อนมีระเบียบแบบแผนทางศีลธรรม (ระยะที่1 ,2)
ระดับที่ 2 ศีลธรรมซึ่งมีระเบียบแบบแผน (ระยะที่ 3,4)
ระดับที่ 3 ศีลธรรมหลังการมีระเบียบแบบแผน (ระยะที่5,6)


84. การพัฒนาของโคลเบอร์ก เหมือนกับ 4 ขั้นแรก เหมือนกับศีลธรรมตามความเป็นจริงของเพียเจท์
85. Trust VS Mistrust
ตรงกับ ฟรอยด์
86. Postconventional
ตรงกับ โคลเบอร์ก
87. Pre-Operational Stage
ตรงกับ เพียเจท์
88. Integrity VS Despair
ตรงกับ อีริคสัน
89.
ข้อใดแสดงถึงการมีเอกลักษณ์แห่งตน คือ มีการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนที่เหมาะสม
90.
แรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้พลอยมีความขยันหมั่นเพียรตั้งใจทำงานจนสำเร็จ คือ การมีประสบการณ์เกี่ยวกับความสำเร็จ
91.
สิ่งที่ขัดขวางความเป็นเหตุผลของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน คือ Object Permanence
92.
การที่ปรีชาไม่กล้าจอดรถในที่ห้ามจอดเพราะกลัวโดนใบสั่ง พัฒนาการทางศีลธรรมของปรีชาอยู่ในระยะใด ตามแนวคิดของโคลเบอร์ก คือ PRECONVENTIONAL
93.
ตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอน คือ ความแตกต่างแต่ละบุคคล
94.
การแบ่งกลุ่มเด็กมี กี่วิธี มี 4 วิธี
95. การแบ่งกลุ่มแบ่งได้ ดังนี้ คือ
1)
แบ่งกลุ่มตามความสามารถระหว่างห้องเรียน
2)
การจัดกลุ่มใหม่
3)
แผนของจอปลิน
4)
การแบ่งกลุ่มตามความสามารถภายในห้องเรียน


96. การแบ่งระดับสติปัญญาของเด็ก เป็น สูง ปานกลาง ต่ำ เป็นการแบ่งกลุ่มแบบใด คือ แบ่งตามความสามารถระหว่างห้องเรียน
97.
นำนักเรียนที่มีความสามารถคะแนนใกล้เคียงกันมาเรียนวิชาเดียวกัน เป็นการแบ่งกลุ่มแบบใด คือ การจัดกลุ่มใหม่
98.
การจัดกลุ่มให้นักเรียนระดับต่างกัน เช่น ป.1 ป.2 ป.3 แต่คะแนนการอ่านใกล้เคียงกันมาเรียนด้วยกัน เป็นการแบ่งกลุ่มแบบใด แผนของจอปลิน
99.
แบ่งกลุ่มภายในห้องเรียนเป็น2-3 กลุ่ม เป็นการจัดกลุ่มแบบใด คือ แบ่งกลุ่มตามความสามารถภายในห้องเรียน
100.
เด็กพิเศษ หมายถึงอย่างไร คือ เด็กที่มีความสามารถและลักษณะแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก
101. IQ
เท่าไรจึงเรียกว่าปัญญาอ่อน คือ 65-75
102.
สามารถเรียนได้ถึง ป.3 หรือ ป.6 ถือว่าเป็นเด็กปัญญาอ่อนระดับใด คือ ระดับอย่างอ่อน
103.
สามารถอ่านออกเขียนได้ คำนวณได้ ปัญญาอ่อนระดับใด คือ ระดับอย่างอ่อน
104.
สามารถฝึกได้เรียนได้ถึง ป.2 เป็นเด็กปัญญาอ่อนระดับใด คือ ระดับกลาง
105.
ไม่สามารถอ่านและเขียนไม่ได้ ปัญญาอ่อนระดับใด คือ ระดับกลาง
106.
ไม่สามารถรับการศึกษาได้เลย ปัญญาอ่อนระดับใด คือ อย่างรุนแรง
107.
เดินไม่ได้ อยู่บนเตียงลากตลอดเวลา ปัญญาอ่อนระดับใด คือ อย่างลึกซึ้ง
108.
สาเหตุของการปัญญาอ่อน คือ ทางพันธุกรรม ทางโรคฟีนิลคีโทนุเรีย กาแลคโทซีเมีย
109.
ดาวน์ซิมโดรมเกิดจาก สาเหตุใด คือ มีโครโมโซมเพิ่มขึ้นมาไม่สามารถรักษาได้
110. Learning Disabled Children
หมายถึง คือ เด็กที่ไม่สามารถในการเรียนรู้
111.
ใครให้ความหมายว่า ความบกพร่องอยู่ภายใต้ตัวบุคคลอันเป็นผลจากความบกพร่องของระบบประสาท คือ เลอร์เนอร์ (Lerner)
112. hyperactive
คือ พวกอยู่นิ่งไม่ได้
113.
ลักษณะของเด็กไม่สามารถในการเรียนรู้ ประกอบด้วย ขาดการประสานงานในส่วนต่าง ๆ ขาดสมาธิ ไม่เป็นระเบียบ ทำงานต่อเนื่องไม่ได้ เก่งในบางด้าน แต่อ่อนส่วนใหญ่
114.
ความสามารถของเด็กไม่สามารถเรียนรู้ด้านวิชาการ ประกอบด้วย การอ่าน (อ่านไม่คล่อง ใช้คำกลับกัน มักผิดที่ผิดทาง) ด้านเขียน(ตัวหนังสือบิดเบี้ยว เขียนไม่ตรงบรรทัด ทำงานช้า ปัญหาในการลอกจากกระดาน)ด้านคณิตศาสตร์ ( จำสูตรไม่ได้ คำนวณปนเปไม่ตรงช่อง)
115.
เราจะสังเกตอย่างไรว่าเด็กมีปัญหาการได้ยินและหูหนวก สังเกตจาก การแสดงความไม่ใส่ใจซ้ำ ๆ ออกเสียงผิดหลายคำ ตอบนอกเรื่อง พูดเสียงโดนเดียว มักหันใบหูไปทางผู้พูด
116.
สาเหตุของการหูหนวก คือ ร้อยละ 90 เกิดจากพันธุกรรม
117.
การให้การศึกษาแก่เด็กหูหนวก มีกี่วิธี อะไรบ้าง คือ มี 2 วิธี คือ ปากเปล่า และใช้มือ
118.
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เป็นอย่างไร คือ มองเห็นได้ไกลเพียง 20 ฟุต
119.
คนปกติมองเห็นในระยะกี่ฟุต200 ฟุต
120. Field of vision
คือ สนามของการมองเห็น
121.
ผู้ให้กำเนิดอักษรเบรลล์ คือ หลุยส์ เบรลล์
122.
เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์/อารมณ์แปรปรวน คือ พฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม ถอยหนี เศร้าซึม
123.
เด็กที่มีความสามารถพิเศษคือเด็กที่มีระดับเชาว์ปัญญาระดับใด คือ สูงกว่า 130 ขึ้นไป
124.
เด็กพิเศษเราสามารถสังเกตจากเกณฑ์ได้อย่างไร สังเกตดังนี้ กระตือรือร้น อ่านหนังสือทุกประเภท ชอบเรียนวิทยาศาสตร์หรือวรรณคดี ได้รับรางวัลด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะหรือวรรณคดี ว่องไวในการตอบคำถาม เรียนเด่นทางคณิตศาสตร์ ชอบเสี่ยงทดลองสิ่งใหม่ ๆ อารมณ์มั่นคง เป็นผู้นำเพื่อนในวัยเดียวกัน ชอบทำอะไรด้วยตนเอง เชื่อมั่นตนเองสูง มีวินัยในตนเองไม่ต้องมีใครบังคับ คิดริเริ่ม แก้ปัญหาอย่างฉลาด สร้างสรรค์เห็นความเชื่อมโยงและคิดแปลกใหม่ แสดงออกได้ดีทั้งคำพูดและกริยา เล่าเรื่องที่คิดขึ้นเองได้ ช่างซักถาม ชอบพิจารณา น้ำเสียงตื้นเต้นในสิ่งที่ค้นพบใหม่
125.
เด็กปัญญาอ่อน คือ เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์
126.
มีปัญหาในการทำงานในชั้นเรียนปกติ คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
127. HYPERACTIVE
คือ เด็กไม่สามารถในการเรียนรู้
128.
มีปัญหาในการวัดสัมฤทธิผลด้านต่าง ๆ คือ เด็กไม่สามารถในการเรียนรู้
129.
ลักษณะของเด็กปัญญาอ่อนอย่างลึกซึ้ง คือ ช่วยตนเองไม่ได้
130.
เด็กที่ต้องได้รับการศึกษาพิเศษมีระดับเชาวน์ปัญญาตั้งแต่เท่าไหร่ลงไป คือ 70
131.
การแบ่งกลุ่มตามความสามารถแบบใดที่มีงานวิจัยสนับสนุนประสิทธิภาพและนิยมนำไปใช้สอนในระดับประถมศึกษา คือ ภายในห้องเรียน
132.
การจัดกลุ่มเด็กที่มีความสามารถใกล้เคียงกันอยู่ห้องเดียวกันมีจุดอ่อนคือ ห้องที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำขาดตัวแบบทางบวก
133.
การสอนCONVERSATION ควรใช้วิธีการจัดกลุ่มนักเรียนแบบใด การจัดกลุ่มภายในห้องเรียน
134.
การสอบไล่ในประเทศไทยเริ่มเมื่อปี พ.ศ.ใด ปี พ.ศ. 2427
135.
พระพุทธเจ้าใช้วิธีเอตทัคคะสอบวัดอย่างไร คือ ไล่ความรู้กันตัวต่อตัว
136.
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการสอบไล่ของพระภิกษุ เป็นแบบใด เป็นแบบสอบไล่ปากเปล่า
137.
การศึกษาแบบสามัญหรือวิสามัญเกิดเมื่อใด เมื่อรัชกาลที่ 5-6
138.
สมัย ร.5-6 สอบไล่แบบใด แบบความเรียงหรืออัตนัย
139.
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อใด รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2470-2475
140.
ใครเป็นผู้สร้างแบบทดสอบเชาว์ปัญญาในประเทศไทย คือ พระยาเมธาธิบดี
141.
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาเหมือนกับข้อสอบคัดเลือกทหาร ชื่อใด ชื่อ Army alpha
142.
ใครสร้างข้อสอบArmy alpha ผู้สร้างคือ เยอรคส์ และ โอทิส
143.
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาเป็นแบบทดสอบแบบใด เป็นแบบปรนัย
144.
สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
145.
ใครเป็นบิดาแห่งการวัดผลการศึกษาของประเทศไทย คือ ดร.ชวาล แพรัตตกุล
146.
การสร้างแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา ใช้ทฤษฎีของใครสร้าง คือ เธอร์สโตน (Thurstone)
147.
เธอร์สโตน แบ่งการวัดเป็นกี่ลำดับ 7 ลำดับ
148.
แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาที่ ม.ล.ตุ้ยสร้างมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร เพื่อวัดความจำเป็นหลัก
149.
ใครใช้แบบทดสอบเพื่อการแนะแนวการศึกษา คือ ดร.แนม บุญสิทธิ์
150.
ข้อสอบปรนัยนำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อใด พ.ศ. 2497
151.
แบบทดสอบปรนัยที่นำมาใช้ครั้งแรกจุดประสงค์เพื่ออะไร เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
152.
พ.ศ.2511 กระทรวงศึกษาธิการให้ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรสร้างแบบทดสอบแบบใด แบบทดสอบความถนัดทางการเรียน
153.
แบบทดสอบความถนัดทางการเรียน ครั้งแรกใช้ในเรื่องใด ใช้ในการสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้น ป.1 และ ป.3 และ ป.กศ. , ป.กศ.สูง
154.
ปี พ.ศ. 2513 มีการใช้แบบทดสอบมาตรฐานวัดผลสัมฤทธิ์และความถนัดทางการเรียนระดับใด ระดับประโยคชั้นประถมศึกษา (ป.7)
155.
การทดสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐานวัดผลสัมฤทธิ์และความถนัดทางการเรียนเกิดครั้งแรกเมื่อใด พ.ศ. 2513
156.
การทดสอบเกิดขึ้นครั้งในโลก คือ ปีใด ที่ใด ค.ศ. 1904 ประเทศฝรั่งเศส
157.
จุดเริ่มต้นของการทดสอบ คือ การศึกษาวิธีการให้การศึกษาสำหรับเด็กปัญญาอ่อน
158.
ใครเป็นผู้เสนอมาตรการวัดสติปัญญาเป็นข้อความ30 ข้อ คือบิเนต์ และไซมอน (Binet and Simon)
159.
พื้นฐานของBinet and Simon มาจากผลงานของใคร คือของ ฟรานซิส แกลตัน (Francis Galton)
160.
ผู้คิดค้นวิธีการประเมินความถนัดทางการเรียนอย่างเป็นระบบ คือใคร คือ Binet and Simon
161.
เทอร์แมน(Terman) พัฒนาแบบทดสอบ ของบิเนต์ขึ้นใหม่ให้ชื่อว่าอะไร ชื่อว่า Stanford-Binet
162.
แบบทดสอบ อัลฟา (Alpha) คืออะไร คือ แบบทดสอบสำหรับผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษ
163.
แบบทดสอบ เบตา (Beta) สำหรับผู้ไม่รู้ภาษา ไม่มีการศึกษา
164.
การทดสอบแบบ อัลฟา และเบตาเป็นการทดสอบแบบใด เป็นการทดสอบเป็นกลุ่ม
165.
ใครเป็นผู้แบ่งการวัดสติปัญญาออกเป็นG-factor และ S-factor คือ ชาร์ลส เสปียร์แมน (Charles Spearman)
166. G-factor
หมายถึงอย่างไร คือองค์ประกอบทั่วไป
167. S-factor
หมายถึงอย่างไร คือ องค์ประกอบเฉพาะ
168.
พื้นฐานของการสร้างแบบทดสอบความถนัด คืออะไรบ้าง G-factor , S-factor
169. Aptitude Tests
คือ แบบทดสอบความถนัด
170.
ผู้สร้างเครื่องมือวัดเชาวน์ปัญญาสำหรับผู้ใหญ่คือ เดวิค เวคสเลอร์ (Divid Wechsler)
171.
ใครที่มีความเชื่อว่าความฉลาดของมนุษย์มีการพัฒนาต่อเนื่องตั้งแต่อยู่ในท้องมารดา คือใคร Divid Wechsler
172.
แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาในผู้ใหญ่ คือ WAIS = Wechsler Adult Intelligence Scale อายุ 15ปีขึ้นไป
173.
วัดเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ5 – 15 ปี คือ WISC = Wechsler Intelligence Scale for Children
174.
วัดเชาวน์ปัญญาระดับอายุ4-6 ปี คือ WPPSI = Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence
175.
เวคสเลอร์ นำเอาความคิด โอทิส มาพัฒนาเป็นมาตราวัดเชาวน์ปัญญาชื่อ Wechsler-bellevue Intelligence Scale
176.
ใครคิดเครื่องมือวัดความสนใจทางอาชีพ คือ สตรอง (E Strong)
177. E Strong
คือเครื่องมือวัดความในทางอาชีพชื่ออะไร ชื่อ SVIB Strong Vocational Test
178. Cooperative Test Service
คือ หน่วยงานมาตรฐานแบบทดสอบเพื่อบริการแก่วงการศึกษา
179.
ใครเป็นผู้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยตรวจสอบ คือใคร คือ เรย์โนลด์ บี จอห์นสัน (Reynold B. Johnson)
180.
แบบทดสอบผู้ที่สำเร็จระดับปริญญาตรี คือ GRE. Graduate Record Examination
181.
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มีกี่ชนิด มี 3 ชนิด
182. Diagnostic Achievement Test
คือ แบบทดสอบสัมฤทธิผลเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่อง
183.
แบบทดสอบที่ใช้วัดแต่ละวิชา คือ แบบทดสอบวัดสัมฤทธิผลรายวิชา
184.
แบบทดสอบที่พบมากในระดับประถมศึกษา คือ แบบทดสอบด้านการอ่านและคณิตศาสตร์
185. Survey Batteries
คือ แบตเตอรี่เพื่อสำรวจ
186.
แบตเตอรี่เพื่อสำรวจ คือ แบบทดสอบที่มีแบบทดสอบย่อยหลายอัน
187. Ability Tests
คือ แบบทดสอบความสามารถ
188.
แบบทดสอบใดที่ใช้วัดความสามารถทางสติปัญญาAbility Tests
189.
แบบทดสอบทางสติปัญญา หรือเชาวน์ปัญญาที่มีชื่อได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่
ของแสตนฟอร์ดบิเนต์(Stanford Binet) แบบทดสอบของเวคสเลอร์(Wechsler Intelligence Scale)
190.
แบบทดสอบของบิเนต์ และของเวคสเลอร์ เป็นการวัดแบบใด เป็นการวัดรายบุคคล
191.
แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาเป็นกลุ่ม มีชื่ออีกชื่อว่า แบบทดสอบความถนัดทางวิชาการ
192. Scholastic Aptitude Tests
คือ แบบทดสอบความถนัดทางวิชาการ
193.
แบบทดสอบความถนัดทางวิชาการ คือ SAT
194.
แบบทดสอบเป็นกลุ่มใช้ในกรณีใด มักใช้ความสามารถทางวิชาการ
195.
แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา มักวัดเป็นรายบุคคล
196.
ในสหรัฐอเมริกา ให้แบบทดสอบความถนัดทางวิชาการ ใดบ้าง
Scholastic Aptitude Test (SAT)
Henmon-Nelson Test of Mental Abilities
Califarnia Test of Mental Maturity
Otis-Lennon School Ability Test
American College Testing (ACT)
197. แบบทดสอบในข้อ196 เป็นการวัดแบบใด แบบกลุ่ม
198.
แบบทดสอบความสามารถ ช่วยเราอย่างไร ช่วยในการวางตัวบุคคลในการเรียน ให้การแนะแนวการศึกษา เพื่อช่วยในการสอน
199.
ผู้สร้างเครื่องมือวัดความสนใจขึ้นครั้งแรกคือใคร คือ จี แสตนลีย์ ฮอลล (G Stanley Hall)
200. Strong-Campbell Interest Inventory – SCII
คือ แบบทดสอบความสนใจของสตรองแคมป์เบลล
201. Strong Vocational Interest Blank
คือ แบบทดสอบความสนใจทางอาชีพของสตรอง
202. Kuder Preference Record
คือ แบบทดสอบความชอบของคูเดอร์
203. Kuder Occupational Interest Survey
คือ แบบสำรวจความสนใจทางอาชีพของคูเดอร์
204. Jackson Vocational Interest Survey
คือ แบบสำรวจความสนใจทางอาชีพของแจ๊คสัน
205. Lee-Thorpe Occupational Interest Inventory
คือ แบบสำรวจความสนใจทางอาชีพของ ลีธอร์ป
206. Guilford’s Interest Survey
คือ แบบทดสอบสำรวจความสนใจของกิบฟอร์ด
207.
เกณฑ์ภาคเชาวน์ คือ Intelligence Quotient = IQ
208.
คนปกติมีเชาวน์ปัญญาอยู่ระดับ100
209. Genius
คือ มีปัญญาระดับใด ระดับ 140 ขึ้นไป
210. very Superior
คือ ระดับ 120-130
211. Superior
คือ ระดับ 110 - 119
212. Normal
คือ 90-109
213. Backward
คือ 80-80
214. Borderline
คือ 70-79
215. Moron
คือ 50-69
216. Imbecile
คือ 20-49
217. Idiot
คือ ต่ำกว่า 20
218.
ผู้ริเริ่มสร้างแบบทดสอบสติปัญญาครั้งแรก คือ อัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet) และ ธีโอดอร์ ไซมอน (Theodore Simon)
219.
แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาของเวคสเลอร์ ใช้วัดความสามารถด้านใด คือ ความเข้าใจด้านภาษา และความสามารถด้านการปฏิบัติ
220. Verbal Scale
คือ ความเข้าใจด้านภาษา
221. Performance Scale
คือ ความสามารถด้านการปฏิบัติ
222.
แบบทดสอบด้านภาษา มี 6 ด้านประกอบไปด้วย คือ
-
ความรู้ทั่วไป
-
ความเข้าใจ
-
คณิตศาสตร์
-
ความคล้ายคลึง
-
คำศัพท์
-
การจำตัวเลข
223. แบบทดสอบด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วย ทำให้ภาพสมบูรณ์ การเรียงลำดับภาพ การสร้างลูกบาศก์ตามแบบ การประกอบชิ้นส่วน การลงรหัส เขาวงกต
224.
แบบทดสอบวาดรูปคน คือ Draw a Man Test
225.
ใครเป็นผู้พัฒนาแบบทดสอบวาดรูปคน กูดีนาว (Goodenougn)
226.
แบบทดสอบวัดการวาดรูปคน ใช้กับอายุเท่าใด อายุ 3-15 ปี
227. Otis-Quick-Scoring Mental Ability Test
คือ แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญาของโอธิส
228.
แบบทดสอบใดใช้แบบทดสอบที่ประกอบด้วยแบบฟอร์มต่าง ๆ แบบทดสอบความสามารถทางสติปัญญาของโอธิส
229. Lorge-Thorndike Intelligence Tests
คือ แบบทดสอบสติปัญญาของลอร์จ-ธอร์นไดค์
230.
แบบทดสอบใดใช้กระดาษและดินสอ และคะแนนมาจากทดสอบทางภาษาและไม่ใช้ภาษา คือ แบบทดสอบสติปัญญาของลอร์จ-ธอร์นไดค์
231. California Test of Mental Maturity-CTMM
คือ แบบทดสอบวุฒิภาวะทางสมองของแคลิฟอร์เนีย
232.
แบบทดสอบวุฒิภาวะทางสมองมีกี่ด้าน อะไรบ้าง มี 8 ด้าน คือ
-
การใช้เหตุผล
-
ความสัมพันธ์ของพื้นที่
-
การให้เหตุผลทางตัวเลข
-
สังกัปทางภาษา
-
ความจำ
-
ภาษา
-
สิ่งที่ไม่เกี่ยวกับภาษา
-
รวมทั้งหมด

233. logical reasoning
คือ การใช้เหตุผล
234. spatial relationships
คือ ความสัมพันธ์ของพื้นที่
235. numerical reasoning
คือ การให้เหตุผลทางตัวเลข
236. verbal concepts
สังกัปทางภาษา
237.
แบบทดสอบใดเป็นแบบทดสอบวัดรายบุคคล คือ WAIS
238.
แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาของบิเนต์ สร้างขึ้นครั้งแรกด้วยจุดมุ่งหมายใด จัดวางตัวบุคคลทางการศึกษา
239.
ผู้แปลแบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาของบิเนต์เป็นภาษาอังกฤษคือTERMAN
240.
ประสงค์จะไปเรียนต่อปริญญาที่สหรัฐอเมริกา เธอควรได้รับการทดสอบด้วยแบบทดสอบอะไร SAT
241.
แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถทางภาษาคือBETA
242.
ผู้คิดเรื่องความสำคัญของโครงสร้างและการค้นพบ คือ บรูเนอร์
243. Process of Education
คือ หนังสือชื่อ กระบวนการของการศึกษา
244. Toward a Theory of Instruction
คือ ทฤษฎีการสอน
245. The Relevance of Education
คือ ความสำคัญของการศึกษา
246. Structure
คือ โครงสร้าง
247.
จุดสำคัญที่เน้นในหนังสือกระบวนการทางการศึกษา คือ การสอนควรช่วยให้นักเรียนจับโครงสร้างของวิชาที่ศึกษา
248. Spiral Curriculum
คือ หลักสูตรแบบฟันเฟือง
249.
บรูเนอร์ได้แบ่งขั้นพัฒนาความคิดไว้กี่ขั้น3 ขั้น
250. enactive
คือ การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยการสัมผัส จับต้อง
251. enactive
อยู่ในระดับใด เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
252. Iconic
คือ ความสามารถในการจิตนาการ สร้างมโนภาพไม่ต้องสัมผัสของจริง
253. Iconic
คือวัยใด คือวัยเด็ก
254. Spiral curriculum
คือ นำความคิดอันเดิมกลับเข้ามาใหม่ ในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น
255. Spiral curriculum
คือวัยใด คือวัยเด็กตอนปลาย หรือวัยรุ่นตอนต้น
256.
วัยเด็กตอนปลาย หรือวัยรุ่นตอนต้น เรียกวัยนี้ได้อีกชื่อว่า Symbolic
257. Discovery learning
คือ การเรียนรู้แบบค้นพบ
258.
บรูเนอร์พัฒนาวัสดุการสอนสังคมชั้นประถมศึกษาขึ้น เรียกว่า โปรแกรมการสอน
259.
โปรแกรมการสอนนี้เรียกว่า มนุษย์ : กระบวนการวิชาที่ศึกษา
260. Man : A Course of Study
คือ มนุษย์ : กระบวนการวิชาที่ศึกษา
261. MACOS = Man : A Course of Study
262.
หลักสูตรMACOS มีเนื้อหาวิชาคือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ มนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์ และพลังที่หล่อหลอมความเป็นมนุษย์
263.
เทคนิคที่ใช้ในการสอนหลักสูตรMACOS คือ เน้นสิ่งตรงข้าม กระตุ้นให้มีการตั้งข้อสันนิษฐาน กระตุ้นให้มีส่วนร่วม กระตุ้นให้มีการตระหนัก
264.
ใครเป็นผู้กล่าวว่า ปัญหามีขึ้นเมื่อเรามีเป้าหมาย และยังไม่มีวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น คือ กานเย (Ellen Gagne)
265.
หลักสูตรแบบฟันเฟืองหมายถึง หลักสูตรที่มีความต่อเนื่องกันค่อย ๆ ทวีความซับซ้อนขึ้น
266.
การสอนแบบค้นพบเหมาะกับผู้เรียนแบบใด มัธยมศึกษา
267.
ขั้นตอนแรกที่ต้องทำในการแก้ปัญหา คือ ตระหนักถึงปัญญา
268.
จุดอ่อนในการจัดวิธีการค้นพบในการสอน คือ เด็กที่ฉลาดมีความสามารถสูงอาจผูกขาดการพูด
269.
ข้อเสนอ3 อย่าง ในระยะต้นของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม คือ ความประจักษ์นิยม เป้าหมายของพฤติกรรมนิยม มองเห็นความต่อเนื่องพื้นฐานของหลักการพฤติกรรมในสัตว์ตระกูลต่าง ๆ
270.
ผู้ค้นพบการวางเงื่อนไขแบบคลาดสิค คือ อิวาน ฟาฟลอฟ (Ivan Pavloy)
271. Classical Conditioning
คือ เงื่อนไขแบบคลาสิค
272. unconditioned Stimulus : UCS
คือ สิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข
273. Unconditioned Response : UCR
คือ การตอบสนองที่ไม่ได้รับการวางเงื่อนไข
274. Operant conditioning
คือ การวางเงื่อนไขการกระทำ
275.
ผู้ค้นพบการวางเงื่อนไขการกระทำ คือ บี เอฟ สกินเนอร์
276.
สกินเนอร์ประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับทดลองเรียกว่า กล่องของสกินเนอร์ (Skinner Box)
277.
หลักการพื้นฐานของการวางเงื่อนไขการกระทำ ประกอบด้วย การเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบ
278.
การเสริมแรงทางลบประกอบด้วย การลงโทษประเภทที่ 1 คือ การให้สิ่งเร้าที่เป็นอันตราย ประเภทที่ 2 คือ การเอาสิ่งที่ที่พึงพอใจออกไป
279.
การเสริมแรงแบบต่อเนื่อง คือ การเสริมแรงทุกครั้ง
280.
การเสริมแรงตามอัตราส่วน คือ ให้การเสริมแรงบางครั้ง หรือดูจำนวนครั้งของการตอบสนอง
281.
การเสริมแรงตามช่วงเวลา คือ การให้การเสริมแรงแบ่งเป็นเวลา
282.
การเสริมแรงแบบใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง
283. ratio schedule
คือ การเสริมแรงตามอัตราส่วน
284. interval schedule
คือ การเสริมแรงตามช่วงเวลา
285.
การเสริมแรงพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมเป้าหมาย เรียกว่า การตัดพฤติกรรม
286.
การตัดพฤติกรรมเรียกอีกอย่างว่า คือ การเสริมแรงที่แตกต่างกันไปตามความคาดหวังในความสำเร็จ
287. Differential reinforcement of successive approximation
คือ การเสริมแรงที่แตกต่างกันไปตามความคาดหวังในความสำเร็จ
288. Behavior Modification
คือ การปรับพฤติกรรม
289. Shaping
คือ การตัดพฤติกรรม
290.
การใช้เทคนิคการวางเงื่อนไข เพื่อปรับปรุงพฤติกรรม คือ การปรับพฤติกรรม
291.
ขั้นแรกของการตัดพฤติกรรม คือ การเลือกพฤติกรรมเป้าหมาย
292.
หลักการของพรีแม๊ค(Premack Principles) ที่ทำกิจกรรมอย่างหนึ่งเสร็จแล้วสามารถทำอีกกิจกรรมได้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎของคุณยาย
293. Token Economies
คือ การเก็บสะสมรางวัลซึ่งให้ในรูปเครื่องหมาย
294. Token Economies
ใช้ครั้งแรกที่ใด ใช้ครั้งแรกที่โรงพยาบาลกับคนไข้ที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
295.
เมื่อนักเรียนทำการบ้านเสร็จ จะเล่นอะไรก็ได้ ตรงกับเงื่อนไขใด การทำเงื่อนไขสัญญา
296.
การวางเฉย และให้แยกออกไปอยู่คนเดียว เป็นวิธีการที่เรียกว่า การลดภาวะและเวลานอก
297.
วิธีการใดเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นิยมแพร่หลาย คือ การลงโทษ
298.
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ผู้ค้นพบคือ แอลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura)
299. Observational Learning
คือ การเรียนรู้โดยการสังเกต
300.
กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต มีกี่ข้อ อะไรบ้าง มี 4 ขั้น ประกอบด้วย
1)
ความใส่ใจ
2)
การเก็บสะสม
3)
การผลิต
4)
แรงจูงใจ

301. Attention
ความใส่ใจ
302. Retention
การเก็บสะสม
303. Production
การผลิต
304. Motivation
แรงจูงใจ
305.
จงพิจารณาสถานการณ์ข้างล่าง และเลือกจากตัวเลือกต่อไปนี้
ปรีชาไปเที่ยวสวนสนุกครั้งแรก เขานั่งรถไฟเหาะและเกิดอาการวิเวียน คลื่นไส้ เมื่อเขาเห็นป้ายสวนสนุก เขามีอาการวิงเวียนคลื่นไส้
สิ่งเร้าใดที่ไม่ได้รับการวางเงื่อนไข คือ สวนสนุก
การตอบสนองที่ได้รับการวางเงื่อนไข คือ วิงเวียนคลื่นไส้
สิ่งเร้าที่ได้รับการวางเงื่อนไข คือ ป้ายสวนสนุก
306. การฝึกสุนัขตำรวจใช้หลักการที่สำคัญในการฝึกคือ การเสริมแรงที่แตกต่างไปตามความคาดหวังในความสำเร็จ
307.
แป้มรีบทานข้าวจนหมด เพราะไม่อยากฟังคุณแม่บ่น พฤติกรรมของแป้มเป็นผลจาก คือ การเสริมแรงลบ
308.
ข้อใดเป็นการเสริมแรงแบบให้ตามอัตราส่วนคงที่ คือ ฝากเงินมากได้ดอกเบี้ยมาก
309.
มาสโลว์(Maslow) เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยธรรมชาติภายใน
310.
ใครค้นพบทางเลือกใหม่ที่เรียกว่าพลังที่สาม” (Third force) คือ Maslow
311.
ใครเป็นผู้เริ่มจัดการศึกษาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student centered) คือ คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers)
312. Carl Rogers
พัฒนาวิธีการใช้ความช่วยเหลือด้านจิตบำบัดใหม่ ชื่อว่า จิตบำบัดไม่นำทาง (Nondirective therapy) หรือจิตบำบัดผู้รับคำปรึกษาเป็นคำศูนย์กลาง (Client centered)
313.
ใครเชื่อว่าบุคคลมีการรับรู้ต่อตนเองอย่างไรนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งและจุดมุ่งหมายในการสอน คือ คอมบส์
314.
ใครเสนอว่าพฤติกรรมทุกอย่างเกิดจากความต้องการพื้นฐาน คือ คอมบส์
315.
ที่ซัมเมอร์ฮิลล ทำการสอนแบบใด ครูเป็นเสนอบทเรียน ไม่มีการบังคับเข้าเรียน เด็กเลือกเรียนตามสิ่งที่ต้องการ
316.
โครก่อตั้งโรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล คือ เอ เอส นีล (A S Neil)
317. COOPERATIVE LEARNING
คือ การเรียนรู้แบบให้ความร่วมมือต่อกัน
318.
ทางเลือก3 ทางที่ครูใช้วางโครงสร้างบทเรียน คือ ให้นักเรียนเกิดความแข่งขัน ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
319. STUDENT TEAMS-ACHIEVEMENT DIVISION : STAD
คือ การทำงานเป็นทีม หน่วยแห่งสัมฤทธิ์ผล
320.
การเรียนรู้แบบใดที่มุ่งถึงคุณค่าและเป้าหมาย เน้นการมีส่วนร่วมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
321.
โรเจอร์เชื่อว่าครูจะช่วยเกิดความเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนครูควรจะทำอย่างไร ควรมีความเมตตา เอื้ออาทร มองเด็กในทางบวก
322.
ซัมเมอร์ฮิลล์และโรงเรียนหมู่บ้านเด็กจัดการเรียนการสอนในแนวใด แนวมนุษย์นิยม
323.
แนวคิดของโรเจอร์มีความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ว่า มนุษย์สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้และมีแนวโน้มจะพาตนเองไปสู่ความเจริญงอกงาม
324. Motives
คือ แรงจูงใจ
325.
ทฤษฎีแรงจูงใจให้ความสนใจ เน้นในเรื่องใด คือ เน้นในเรื่องความรู้สึกของเด็ก เกี่ยวกับคุณค่าของตน (Self worth)
326.
นักจิตวิทยาศึกษาแรงจูงใจโดยมีคำถามพื้นฐาน3 ข้อ คือ
1)
อะไรเป็นต้นกำเนิดให้บุคคลเริ่มพฤติกรรม
2)
อะไรทำให้บุคคลมุ่งไปยังเป้าหมาย
3)
สาเหตุอะไรที่ทำให้บุคคลมุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมาย

327.
ความอยากรู้อยากเห็นเกิดจาก การกระตุ้นการรับรู้ เริ่มจากแบบแผนที่มีความใหม่ ความซับซ้อน ความไม่สอดคล้อง และจินตนาการ
328.
การวางเป้าหมาย ถือว่าเป็น แรงจูงใจที่สำคัญ
329.
เป้าหมายแบ่งเป็น เป้าหมายระยะใกล้ เป้าหมายระยะไกล
330.
เป้าหมาย2 ชนิดที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คือ เป้าหมายการเรียนรู้ เป้าหมายการกระทำ
331.
อับราฮัม มาสโลว์ ค้นพบทฤษฎีใด ทฤษฎีแรงจูงใจ
332.
ผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม คือ อับราฮัม มาสโลว์
333.
มาสโลว์เน้นในเรื่องใด เน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการ
334.
ใครมีความเชื่อว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น เมื่อความต้องการพื้นฐานได้รับการตอบสนอง คือ มาสโลว์
335.
มาสโลว์แบ่งความต้องการของมนุษย์ เป็น 7 ระดับได้แก่
1)
สรีรวิทยา
2)
ความปลอดภัย
3)
ความรัก การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
4)
ความภูมิใจ
5)
ความตระหนักถึงตนเองอย่างถ่องแท้
6)
รู้และเข้าใจ
7)
การมีสุนทรียภาพ
336. Deficiency need คือ ความต้องการที่ขาดแคลน
337. being need
วามต้องการที่มีอยู่

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น